วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มอส และ เฟิร์น

 

มอสส์ (Moss)

 

มอสส์ (Moss) ถือเป็นพืชกลุ่มแรกๆ ของโลกที่พัฒนาจากน้ำขึ้นสู่บก มีคลอโรฟิลด์สีเขียวไว้สังเคราะห์แสงสร้างอาหารจึงสามารถอยู่ได้โดยลำพัง แต่ด้วยโครงสร้างของมันยังไม่จัดว่าเป็นพืชชั้นสูง เพราะว่ามอสส์ไม่มีราก ลำต้น และใบที่แท้จริง อีกทั้งยังปราศจากดอกจึงต้องแพร่พันธุ์ด้วยสปอร์ โดยอาศัยลม น้ำ หรือแมลงพาไป โดยมอสส์จะขึ้นเรียงแน่นติดกัน ดูคล้ายๆ กับพรมที่ปกคลุมต้นไม้ หรือโขดหินเอาไว้

 

"หญ้ามอสส์" (mosses) มีอยู่ทั่วไปในป่าดิบชื้น ทั้งในระดับต่ำและระดับสูง จะเห็นว่าพืชประเภทนี้ปกคลุมราก ลำต้น กิ่ง และใบของต้นไม้ หรือ ตามก้อนหินอยู่ทั่วๆ ไป จัดเป็นพืชอาศัย (epiphytic plants) ที่อาศัยพำนักอยู่ตามราก ลำต้น กิ่งและใบของต้นไม้ด้วยการใช้รากเกาะยึดอยู่ตามผิวของส่วนนั้นๆ โดยที่ไม่ได้ส่งรากเบียดแทงทะลุเข้าไปแย่งอาหาร ดังเช่น กาฝาก พืชที่เกาะขึ้นอยู่ตามก้อนหินและผิวหินทั่วๆ ไปในป่านั้นก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
 
 
 
 
 


 
 
 
ฟิร์น (Fern)

เฟิร์น (Fern) เป็นพืชไม้มีดอก เมื่อยังเล็กอยู่ใบเฟิร์นจะงอ เมื่อโตขึ้นใบจึงคลายตัวออก ใบแต่ละใบจะประกอบด้วยใบย่อยเล็กๆ ซึ่งใต้ใบจะมีกลุ่มอับสปอร์ ภายในอับสปอร์จะมีสปอร์มากมาย สปอร์เหล่านี้มีลักษณะเป็นผงเล็กๆ ซึ่งสามารถจะเจริญขึ้นเป็นต้นใหม่ได้ปกติ เฟิร์นชอบขึ้นในที่ร่มและชุ่มชื่น แต่ถือว่าเป็นพืชที่มีวิวัฒนาการสูงกว่ามอสส์ แม้ว่ายังต้องสืบพันธุ์ด้วยสปอร์อยู่ แต่มันก็มีรากเป็นของมันเองแต่ว่าไม่มีรากแก้ว นอกจากนี้เฟิร์นยังมีลำต้นที่มีท่อลำเลียงภายใน เฟิร์นบางชนิดมีเนื้อไม้เป็นลำต้นขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีแผ่นใบแบนสีเขียวแผ่กว้าง สามารถปรับตัวขยายถิ่นอาศัยออกไปไกลแหล่งที่มีความชุ่มชื้น กลายเป็นเฟิร์นน้ำ เฟิร์นดิน เฟิร์นบนเพิงผา และเฟิร์นอิงอาศัยตามต้นไม้สูงๆ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น